มารู้จัก พลเมืองที่เข้มแข็ง คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ประชาชนจะควรจะมีสถานะเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคม ก่อนที่จะมาเป็นยุค 4.0 ได้นั้น ก็ต้องเคยผ่านยุค 1.0 – 3.0 ตามลำดับ โดยในยุค “ประเทศไทย 1.0” เป็นยุคของการทำเกษตรกรรม ชาวบ้านสามารถนำพืชผลไปขายเพื่อให้เกิดรายได้ในการดำรงชีพ “ประเทศไทย 2.0 “ เป็นยุคอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ที่ประเทศไทยเริ่มมีกำลังในการผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคเพียงพอสำหรับใช้ในประเทศ หรือส่งออกไปยังต่างประเทศ

ประเทศไทย 3.0 ที่เรากำลังอยู่ตอนนี้ เป็นยุคสมัยของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ประเทศมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้การผลิตให้มีประสิทธิภาพขึ้น เน้นการส่งออกสินค้าขนาดใหญ่อย่าง รถยนต์ เครื่องไฟใช้ฟ้า วัสดุก่อสร้าง แต่การจะเข้าสู่ยุค 4.0 นั้นมันไม่ง่ายเลยเพราะต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายอย่าง แต่หัวใจหลักในการพัฒนาทางสังคมนั้น ตัวขับเคลื่อนหลักคือ “ประชาชน” ลองมาดูวิธีที่เราจะสร้างพลเมืองที่เข้มแข็งได้อย่างไร

วิธีการสร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง

  • 1.เสริมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมาย เปลี่ยนจากการเรียนรู้แบบเฉื่อยชา เป็นการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น หรือ การเปลี่ยนจากการเรียนแบบภาคบังคับ เป็นการเรียนรู้ด้วยความอยากรู้ และระบบการศึกษาแบบเดิมจะต้องเปลี่ยนให้เหมาะกับเฉพาะบุคคล
  • 2.บ่มเพราะความคิดสร้างสรรค์ หยุดการใช้แนวคิดในการใช้กรอบเข้ามาควบคุม สนับสนุนให้มีการทำงานนอกห้องเรียน มีสิทธิที่จะเห็นต่าง คิดต่าง และทำต่างจากผู้อื่น
  • 3.ปลูกฝังจิตสาธารณะ ด้วยการฝึกเด็กให้รู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ ให้มีความซื่อสัตย์ มีวินัยต่อตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนและสังคม
  • 4.มุ่งเน้นการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เปลี่ยนการเรียนรู้เชิงทฤษฎีให้เป็นการวิเคราะห์ เพื่อที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนแนวคิดการเรียนเพื่อวุฒิการศึกษา เป็นการเรียนเพื่อนำไปประกอบอาชีพ

อุปสรรคของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

บ้านเรายังเป็นประเทศที่มีประชาชนยากจนอยู่เยอะ เราจะเข้าสู่ยุคสังคมพลเมืองเข้มแข็งไม่ได้หากไม่กำจัดวงจรแห่งความยากจนเหล่านี้เสียก่อน โดยเราสามารถแก้ไขปัญหาให้คนไทยสามารถพัฒนาตนเองได้ดังนี้ ได้แก่ การเติมเต็ม (Refill) ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มประชาชนที่ขาดรายได้จากการไม่มีอาชีพ และ การปฏิรูป (Reform) เป็นการพัฒนาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเน้นการพัฒนาทักษะให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคม สิ่งที่จะช่วยให้ทั้งสองอย่างสัมฤทธิ์ผลต้องอาศัยนโยบายเป็นแรงสนับสนุนดังนี้

  • 1.นโยบายในการสร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่มพูนความรู้ในการประกอบอาชีพ ให้สามารถนำไปต่อยอดทำรายได้ในชุมชน ออกมาตรการในการคุ้มครองคุณภาพชีวิตประชาชน รักษาระดับค่าครองชีพให้มีความเหมาะสม ลดความเสี่ยงในการกู้หนี้ยืมสิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย
  • 2.นโยบายด้านการเงิน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เงินเยียวยาด้านต่างๆ จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม ทำโครงการช่วยเหลือซ่อมแซมที่พักพิงแก่ผู้ยากจน ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิและบริการของรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน
  • 3.นโยบายส่งเสริมโอกาสทางสังคม สนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อที่จะมีรายได้ในการดูแลครอบครัว มอบความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถกลับมามีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ก่อนที่จะพลักดันให้เป็นพลเมืองที่เข็มแข็งต่อไป
  • 4.นโยบายการพัฒนา กระตุ้นให้คนไทยสามารถมีส่วนรวมในสังคม เช่น ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ หรือการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการพัฒนา

นอกจากนี้การพัฒนาทักษะด้านองค์ความรู้ต่างๆ ก็ยังมีบทบาทที่สำคัญในการพลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 โดยมีพลเมืองที่เข้มแข็งเป็นกำลังหลักของชาติ โดยจะต้องมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ความร่วมมือ การค้าขาย ซึ่งทุกฝ่ายต้องให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นส่วนภาครัฐหรือเอกชน ล้วนเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศของเราก้าวพัฒนาต่อไป