เรียนรู้กฎหมายคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

กฎหมายไทยถือว่าเป็นกฎหมายทีดีอย่างหนึ่งเลย เพราะว่าเค้าได้ร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อดูแลครอบคลุมทุกคนในสังคมที่อยู่ร่วมกัน แม้ว่าคนนั้นจะเป็นเพศไหนก็ตาม อายุเท่าไรตั้งแต่เด็กอยู่ในท้อง จนถึงเสียชีวิตเลย อีกทางหนึ่งหากเราเป็นคนไร้บ้าน ไร้ที่พึ่ง หลายคนอาจจะมองข้ามกลุ่มคนเหล่านี้ แต่ไม่ใช่กฎหมายที่มีการร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองด้วย มาดูกันว่ามีกฎหมายมาตราไหนบ้างที่พูดถึงคนไร้ที่พึ่ง

พระราชบัญญัติการคุ้มครอง

เพื่อให้การดูแล บริหารจัดการ คนไร้ที่พึ่ง เป็นระบบและถูกต้องตามกฎหมายมากที่สุด ได้มีการตราพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.๒๕๕๗ ออกมา โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีรายละเอียดที่น่าสนใจในการดูและคนไร้ที่พึ่งเอาไวด้วย ทั้งการกำหนดความหมายของคนไร้ที่พึ่ง (มาตรา ๓) นอกจากนี้ใน พรบ. ดังกล่าวยังมีมาตราไหนที่เหมาะกับคนไร้ที่พึ่งอีกบ้าง

มาตรา ๑๔

อีกหนึ่ง มาตราที่มีการบังคับให้มีการบริหารจัดการ ข้อมูลคนไร้ที่พึ่งและช่วยดูแลแบบครบวงจรเลย เพราะว่า มาตรานี้ได้กำหนดให้ทางภาครัฐต้องสำรวจและติดตามสภาพปัญหาของคนไร้ที่พึ่ง หากพบต้องนำคนไร้ที่พึ่งมายังสถานคุ้มครอง และสถานคุ้มครองนั้นจะต้องมีที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการช่วยเหลือด้านอื่นๆด้วย

มาตรา  ๒๒

มาตรานี้ อธิบายใจความสำคัญตรงที่ว่า หากคนไร้ที่พึงทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่สาธารณะ เช่นการแอบเข้าไปนอนในสวนสาธารณะหลังปิดทำการ เจ้าหน้าที่อาจจะเข้าจับกุมได้ตามกฎหมาย แต่ว่าหากคนไร้ที่พึงอาจจะมีทางเลือกในการไม่โดนจับกุมด้วยการไปอยู่สถานที่คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งได้ โดยความยินยอม(ถ้ายินยอมไปอยู่ เรื่องคดีอาจจะสิ้นสุดได้หากไกล่เกลี่ยสำเร็จ แต่ถ้าหากไม่ยอมไปก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไปแทน

มาตรา ๒๔

การเข้าไปอยู่ในสถานที่คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าไปกินนอนอย่างเดียว แต่ยังต้องมีข้อตกลงในการเข้าร่วมด้วยความสมัครใจเพื่อเข้ารับการอบรมฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ การเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเพื่อนำเป็นเครื่องมือการประกอบอาชีพ แต่ถ้าหากคนไร้ที่พึ่งไม่เข้ารับการอบรมดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้ แต่ถ้าแก้ไขปัญหาแล้วยังไม่ทำอีก ก็อาจจะเลือกตัดสิทธิ์คุ้มครองของคนไร้ที่พึ่งได้ ส่วนตัวมีความคิดเห็นว่า มาตรานี้ถือว่าดีเป็นการกระตุ้นแกมบังคับให้คนไร้ที่พึ่งมีศักยภาพมากขึ้นในการพาตัวเองไปมีอาชีพ มีงานทำ มีเงินเพื่อหลุดพ้นจากการไร้ที่พึ่ง จนกลายเป็นพึ่งตัวเองได้ต่อไป ไม่เท่านั้นมาตรานี้ยังเชื่อมโยงกับ มาตรา ๒๕ ในระหว่างฝึกอาชีพ จนถึงเริ่มต้นประกอบอาชีพ คนไร้ที่พึ่งเหล่านี้มีสิทธิ์ที่จะขอเข้ารับเงินช่วยเหลือสนับสนุนด้วยส่วนหนึ่ง

มาตรา ๒๖

ข้อมูลของคนไร้ที่พึ่ง ที่เข้ามาใช้บริการสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือสถานที่อื่นที่ทำหน้าที่คล้ายกันนั้น จะต้องปกปิดข้อมูลของคนที่เข้ามาเป็นความลับ ยกเว้นเปิดเผยตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ เพื่อให้คนไร้ที่พึ่งรู้สึกปลอดภัย

มาตรา ๒๗

หากคนไร้ที่พึ่ง ไม่ได้รับความยุติธรรม ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือ ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมจากเจ้าหน้าที่ สถานคุ้มครองต่าง อาจจะร้องเรียนได้

จากทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นว่า พรบ. ตัวนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งให้สามารถเข้ามารับการช่วยเหลือ กระบวนการฟื้นฟูทางร่างกาย และจิตใจ พร้อมทั้งเสริมทักษะวิชาชีพให้ เพื่อให้คนไร้ที่พึ่งเหล่านั้น กลายเป็นคนที่พึ่งตัวเองได้ ไม่เป็นปัญหาของสังคมส่วนรวม ใครที่เห็นคนไร้ที่พึ่งเหล่านี้ก็ลองแนะนำเค้าไปหาศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งดูได้