มาดูสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังเกษียณอายุราชการ

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังเกษียณอายุราชการ การเกษียณอายุราชการ หลายๆคนอาจเคยได้ยินกับคำนี้ แต่เมื่อจากราชการในกรณีที่เกษียณอายุราชการ ไปแล้วละเราจะได้สิทธิประโยชน์อะไรในการตอบแทนบ้าง  “เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ” ในทุกตำแหน่งนั้น มีกฎหมายกำหนดการเกษียณอายุราชการไว้เป็นการเฉพาะ  โดยได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ พ.ศ.2494 ที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แล้วเป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการนั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์”

โดยทั่วไปแล้วคนทั่วไปจะเรียกข้าราชการที่เกษียณอายุราชการไปแล้วว่า “ข้าราชการบำนาญ” ในภาษากฎหมายนั้นจะใช้คำว่า “ผู้รับบำนาญ” จะได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่างๆจากทางราชการหลายอย่างด้วยกัน เพื่อเป็นการตอบแทนที่ทำงานกับราชการมาจวบจนเกษียณอายุของการทำงาน เพื่อให้มีความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณนั้น ทางราชการจึงได้ให้ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่างๆกับผู้เกษียณราชการ

  1. เงินบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. สำหรับผู้ที่รับบำนาญนั้น ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ หรือ กบช. ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 หรือเคยเป็นสมาชิก กบข. มีสิทธิและสามารถที่จะเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญได้
  2. จะได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้ถูกกำหนดไว้ว่าเป็นเงินที่ทางราชการนั้นได้ทำการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาสำหรับบุตรของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ที่ได้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยที่จะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

-บุตรโดยชอบตามกฎหมาย ซึ่งมีอายุครบ 3 ปีแต่ไม่เกิน 25 ปี สามารถที่จะช่วยเหลือเกี่ยวกับเงินการศึกษา  ของบุตรได้ไม่เกิน  3  คน

-สถานศึกษาที่บุตรเข้าเรียนและสามารถที่จะใช้สิทธิ์ได้เท่านั้น

-เงินที่จ่ายไปนั้นสามารถนำมาใช้สิทธิ์ในการเบิกคืนได้ เช่น เงินบำรุงการศึกษา  เงินค่าเล่าเรียนค่าธรรมเนียมการเรียนต่างๆ ทั้งนี้ตามรายการและตามจำนวนที่กฎหมายได้กำหนดไว้

-การใช้สิทธิ์ในการเบิกสวัสดิการการศึกษาของบุตร ให้ผู้มีสิทธิ์นั้นเป็นผู้ใช้

-การยื่นเรื่องขอเบิกเงินสวัสดิการศึกษาบุตร กรณีสถานศึกษานั้นเก็บเงินเป็นรายภาคเรียน ให้นำหลักฐานมายื่นขอเบิกภายใน 1 ปี

-การรับเงินสวัสดิการของบุตรนั้น จะถูกโอนเข้ามายังบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิ์ตามที่ได้แจ้งไว้ต่อส่วนราชการนั้นๆ

  1. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลต่างๆ

สิทธิ์ในการได้รับสวัสดิการในส่วนนี้นั้น สำหรับตนเอง บิดาและมารดา คู่สมรส และบุตรซึ่งจะให้ได้ไม่เกิน 3 คน เรียงตามลำดับ โดยที่ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมาย  และยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เสมือนผู้ไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้ไร้ความสามารถ

-ค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเบิกได้นั้น คือ ค่าเลือด ค่ายา ค่าอาหารทางเส้นเลือด ค่าส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ำยา ค่าออกซิเจน ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์บำบัดรักษาโรคต่างๆ  ค่าซ่อมแซมและบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ วิเคราะห์โรค และอื่นๆตามระเบียบที่สามารถที่จะทำการเบิกได้

-อัตราค่ารักษาพยาบาลนั้นหาเป็นสถานพยาบาลของภาครัฐสามารถที่จะเบิกได้ตามค่าใช้จ่ายตามจริง เบิกได้เต็มจำนวนทั้งคนไข้ในและนอก แต่หากเป็นสถานพยาบาลของเอกชนนั้น จะสามารถเบิกได้ในกรณีฉุกเฉิน ความจำเป็นรีบด่วน อุบัติเหตุ และอุบัติภัยต่างๆ ทั้งนี้จะสามารถเบิกได้ตามอัตราที่ระเบียบได้ทำการกำหนดไว้เท่านั้น

-การยื่นเรื่องขอเบิกให้ยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลพร้อมหลักฐานขอเบิกต่อส่วนราชการผู้เบิก ภายในระยะเวลา 1 ปีเท่านั้น

-สามารถขอหนังสือรับรองการมีสิทธิ์รับเงินค่ารักษาพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในได้

-สามารถทำเรื่องเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบจ่ายตรงได้ โดยการเบิกโดยตรงกับกรมบัญชีกลาง

  1. เงินบำเหน็จบำนาญ และเงินจาก กบข. ในกรณีสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. สามารถรับเงินก้อนจาก กบข.และผลตอบแทนได้